โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

(ในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านมักจะออกเดินตรวจงานก่อสร้าง หลังจากรับแขกในตอนเย็นอยู่เสมอ)

(หมายเหตุ : คุณสุชาดี มณีวงศ์ เป็นผู้จัดทำรายการ "กระจกหกด้าน" ทางทีวีสีช่อง ๗)







จุไร - คุณป้าค่ะ เวลานี้เรานั่งกันอยู่หน้าพระพุทธชินราช และพระพุทธชินราชองค์นี้ สวยงามมากพอสมควร อยากจะถามว่าช่างที่ไหนปั้น
ป้าน้อย - หลานช่างที่ปั้น และช่างที่ประดับ เขาเป็นช่างสองคน เป็นสามีภรรยากัน คือนายช่างประเสริฐ แก้วมณี สามีเป็นช่างปั้นและนางจำเนียร แก้วมณี เป็นช่างประดับ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งพระพุทธรูปก็ดี คือพระพุทธชินราชองค์นี้พร้อมทั้งแท่น แรงงานทั้งหมดตั้งแต่ปั้น และประดับ ตลอดจนปิดทองทั้งหมด นายช่างประเสริฐกับจำเนียรแก้วมณีสองสามีรภรรยานี้เขาถวายแรงงานทั้งหมด
จุไร - แรงงานของเขาเท่าไร
ป้าน้อย - แรงงนของเขาจริงๆ ราคามันเป็นหมื่น เขาไม่ได้บอกหลวงปู่(ในที่นี่หมายถึงหลวงพ่อฤาษีลิงดำ) หลวงปู่ถามเขาแล้ว เขาบอกราคามันเป็นหมื่น ความจริงหลายหมื่น แต่เขาบอกว่า เขาไม่เอาค่าแรงงาน ทั้งนี้เพราะว่าเขาเป็นช่างปั้นวัดนี้ทั้งหมด
จุไร - คุณป้าเจ้าขา หนูอยากจะถามว่าพระพุทธรูปก็ดี ช่อฟ้า หน้าบันก็ดีของวัดนี้ทั้งหมด เป็นฝีมือของใคร ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของช่างประเสริฐเป็นช่างปั้น และการประดับประดาและการปิดทองเป็นฝีมือของ จำเนียร ซึ่งเป็นภรรยา คอยควบคุมงาน แต่ว่าบางส่วน อย่างเช่นอุโบสถ เฉพาะตัวช่อฟ้า หน้าบันนี้เป็นหน้าที่ของช่างเยี่ยม อำเภอโกรกพระ จังหวัดพระนครสวรรค์
จุไร - ฝีมือการปั้นของเขาทั้งหมด เรียกว่า ทั้งวัดที่เห็นมานี้รู้สึกว่า วิจิตรพิสดาร สวยสดงดงาม น่ารัก อยากจะทราบว่า ช่างปั้น ช่างประดับทั้งสองคนนี้จบอะไรมา
ป้าน้อย - เห็นหลงปู่ ท่านบอกว่า สองคนนี่เป็น ดุษฎีบัณฑิตประถม คำว่าบัณฑิต ท่านอธิบายว่า "ผู้รู้" เป็นหมายความว่าเป็นผู้รู้ขั้นประถม จบประถามปีที่ ๔ ทั้งสองคน และช่างก่อสร้างทั้งหมด คือ ช่างชิต แก้วแดง ช่างวิเชียร พัฒนพันธ์ แล้วก็ช่างพร หนูสำเภา ช่างพเยาว์ ทั้งหมดนี้จบ ป.๔ หมด
จุไร - เห็นคนที่เขามาดู เขาพูดว่า ช่างที่นี่ เห็นหลวงปู่บอกว่าจบ ป.๔ เขาไม่เชื่อเขาบอกช่างจบ ป.๔ ทำไม่ได้

ป้าน้อย - ฝีมือทุกอย่าง ช่างก่อสร้างก็ดี ช่างประดับก็ตาม ช่างปั้นก็ตามที่นี่ ป.๔ ทั้งหมด ป้าจึงเรียกว่า ดุษฎีบัณฑิตประถม คำว่าดุษฎี หมายถึงว่าเงียบ ไม่ต้องทำต่อไป จบบัณฑิต ก็หมายถึงรู้ ประถมก็คือประถม ก็มีความรู้จบประถมปีที่ ๔ ในระหว่างนั้น การเกณฑ์เข้าเรียน เกณฑ์แค่ ป.๔
จุไร - ที่พระบรมสารีริกธาตุ ที่เป็นเจดีย์ ใครปั้น
ป้าน้อย - เรื่องปั้นก็ช่างประเสริฐ ประดับก็เป็นช่างจำเนียร เหมือนกัน
จุไร - พระบรมสารีริกธาตุนี่ หลวงปู่ได้มาจากไหน
ป้าน้อย - เห็นหลวงปู่ ท่านบอกว่า ได้มาหลายทาง ส่วนหนึ่งได้มาจากการบูชา บูชาแล้วก็มาเอง ก็เยอะ และประการที่สอง บรรดาญาติโยมท่านให้มาก็มี และนอกจากนั้นส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต้องลงทุนกันมากคือ คณะชาวพิษณุโลกมี คุณลุงสันต์ ภู่กร กับ คุณป้าเกศริน ภู่กร

จุไร - ก็ถามว่า เจดีย์ทอง ที่หลวงปู่มาตั้งทั้งสองข้างเป็นทองจริงๆ หรือ
ป้าน้อย - เป็นทองจริงๆ เอามาตั้งแบบนี้ไม่ได้ ต้องฝัง และที่ตั้งนี้เป็นทองเหมือนกัน แต่เป็นทองชุบ หมายความว่า ชุบหนาแบบกระไหล่ทั้งสององค์แต่ที่เป็นทองแท้ๆ อยู่ข้างล่าง
จุไร - พระบรมสารีริกธาตุเท่าที่เห็นมีแค่นี้หรือ
ป้าน้อย - มีอีกเยอะ ใส่เหยือกใหญ่ วันนั้นวันบรรจุเห็นเทกันขนาดหนัก เทใส่เหยือกใช้เวลานาน พระบรมสารีริกธาตุ ถ้าตวงเป็นลิตรก็เกิน ๑๐ ลิตร

จุไร - ถ้าอย่างนั้นหลวงปู่ได้มาจากไหน
ป้าน้อย - ก็เป็นธรรมดาที่ป้าบอกแล้วว่าคนอื่นให้มาบ้าง ท่านบูชาเองบ้าง
จุไร - ที่หลวงปู่บูชาท่านเอามาให้บูชาที่นี่หรือป่าวที่ได้มา
ป้าน้อย - วันนั้นท่านบรรจุหมดมีเท่าไหร่ท่านบรรจุหมด แต่ก็ปรากฏว่า หลังจากบรรจุแล้วก็มีพระบรมสารีริกธาตุมาอีก
จุไร - เห็นคนเขาพูดกันว่าหลวงปู่ให้คนบรรจุเงินบ้าง ทองบ้าง สตางค์บ้างทองเหลืองบ้าง ทองแดง ตามอัธยาศัยสร้อยถนิมพิมพา ส่วนใหญ่ลงไปในฐานที่ตั้งพระบรมสารีริกธาตุ อย่างนี้ขโมยจะมาเอาไปได้ไหม

ป้าน้อย - ทั้งนี้ก็เป็น เรื่องความสามรถของขโมยเพราะการใส่ไปใต้แท่นพระบรมสารีริกธาตุ มันไม่ได้อยู่ตรงนั้น ความจริงท่านทำท่อฝังลึกลงใต้ดินเป็นหลุมใหญ่ใต้วิหาร ทั้งนี้กลบไว้ก็ดี แม้แต่ช่างก่อสร้างก็ยังไม่ทราบ เวลาทำจริงๆ ช่างทำท่อบรรจุกับช่างก่อสร้างคนละคน ช่างที่ทำท่อบรรจุนี่เป็นช่างภายใน ถือเป็นความลับ ถ้าใส่ไปแล้วหล่นไปปุ๊บ ก็จะไหลเลื่อนไปอยู่ใต้ดินลึกเป็นเมตร และก็เป็นทางเลี้ยวไป ไม่ใช่ตรง อย่างนี้ก็ถือว่ายากหน่อย จุไรฟังแล้วก็กราบพระพุทธชินราช กราบพระบรมสารีริกธาตุตั้งใจบูชา
จุไร - เอาช่างที่ไหนมาปั้นหุ่น
ป้าน้อย - เป็นฝีมือช่างประเสริฐ และช่างจำเนียร
จุไร - เวลาเขาหล่อ มีพิธีกรรมในการหล่อ หลวงปู่ทำอย่างไร

ป้าน้อย - มีพิธีกรรมพิเศษ ที่ท่านเรียนมาจากหลวงพ่อปาน ป้าเองก็อธิบายไม่ได้ แต่มีสิ่งแปลกอยู่อย่างหนึ่ง วันนั้นปรากฏว่า เวลาเททองลมแรงมาก ช่างเททองไม่ค่อยจะลงต้องใช้เวลานาน และช่างประเสริฐก็ปรารภว่า การเททองมีลมแรงแบบนี้ทองจะขาดตอนกัน จะไม่ประสนกันสนิท อย่างไรๆ ก็ตามรูปนี้ต้องเสีย แล้วก็ต้องแต่งเติมกันมาก

(ภาพจาก : http://uthaiwanth.multiply.com/journal/item/12/12)

ป้าน้อย - ก็บอกว่าเรื่องนี้ป้าไม่ถือว่า เป็นเรื่องมหัศจรรย์ ทั้งนี้เพราะว่าการหล่อพระ ทุกช่างก็มีครูบาอาจารย์ มีวิธีกรรมอาจจะเหมือนๆกันทุกช่างก็ได้ หลังจากนั้น จุไรก็หันมาทางขวามือ ไปดูโลงศพ แล้วเธอก็ถามว่า
จุไร - โลงศพของใคร เครื่องตั้งศพใคร ทำไมถึงมาตั้งในวิหารแหม...
ป้าน้อย - ความจริงโลงศพอันเป็นที่สักการะบูชา นี่เป็นโลงของหลวงปู่ท่าน หลวงปู่ท่านเตรียมไว้ เพื่อเวลาท่านตายจริงๆ จะได้ไม่วุ่นวายเรื่องโลงศพและก็ประการที่สอง ท่านบอกว่า "เรื่องที่ตั้งของศพ เมื่อสมัยหลวงพ่อปานมรณภาพ ก็ยุ่งมาทีหนึ่งแล้วต่างคนต่างทะเลาะกัน เถียงกันว่าคนนั้นจะตั้งที่นั่น คนนี้จะตั้งที่นี่



ข้อมูลดีๆจากวัดท่าซุงที่ผมรัก http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=437